จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555


มองศิลป์: สุภาพสตรี บู๊ระห่ำ

อิสระภาพและปัจเจกแห่งผู้หญิงยุคดิจิตอล
นิทรรศการสุภาพสตรี บู๊ระห่ำ โดยอัญชลี อารยะพงศ์พาณิชย์ นำเสนอภาพลักษณ์ของหญิงสายยุคใหม่ด้วยอารมณ์สนุกสนาน มีชีวิตชีวา มั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม



ในสังคมเมืองหลวง เราได้เห็นบทบาทของสตรีหลากหลาย สาวนักบริหาร สาวศิลปิน สาวแฟชั่น สาวทอมบอย สาวหวาน นิทรรศการสุภาพสตรี บู๊ระห่ำ หรือ Lady Image 

โดยอัญชลี อารยะพงศ์พาณิชย์ นำเสนอภาพลักษณ์ของหญิงสายยุคใหม่ด้วยอารมณ์สนุกสนาน มีชีวิตชีวา ภายใต้บริบทของหญิงสาวที่มีเสรีภาพทางความคิด การแสดงออก และเข็มแข็งอย่างเต็มเปี่ยม


อัญชลี อารยะพงศ์พาณิชย์ ศิลปินรุ่นใหม่จากรั้วศิลปากร รับหน้าที่ในตัวละคร เพื่อแสดงภาพบทบาทของผู้หญิงในอารมณ์สนุกสนาน มีชีวิตชีวา และกล้าแสดงออก

อัญชลี อารยะพงศ์พาณิชย์ ศิลปินรุ่นใหม่จากรั้วศิลปากร ใช้ปากกากับสีน้ำสร้างงานวาดเส้นและจิตรกกรมบนกระดาษ ผลงานของเธอรวมภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ปรากฏในสื่อบันเทิงต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ตัวการ์ตูน เกมส์ แฟชั่น ผสมผสานกับจินตนาการอันเพริศแพร้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทและการแสดง แสดงออกแบบสุดเหวี่ยงเต็มที่ในอากัปกิริยาต่างๆ ของผู้หญิงที่มีอิสรเสรี มีชีวิตชีวา สอดแทรกลักษณะท่าทีราวนักแสดงหน้ากล้อง และแฝงอารมณ์ขันเชิงยั่วล้อ โดยมีตัวเธอเป็นผู้รับหน้าที่ตัวละครในภาพเอง

ภาพที่นำมาจัดแสดงปรากฏร่างของศิลปินในอิริยาบถที่แตกต่างแต่มี บุคลิกที่เหมือนกัน ดวงตากลมโตรวมรวมตัวการ์ตูนดึงบุคลิกภาพที่โดดเด่นของเธอขึ้นมาจากตัวตนจริง และสีหน้าที่บอกถึงความมั่นใจ อิสรภาพ ความเป็นปัจเจก และกิจกรรมในรูปแบบที่พผู้หญิงทั่วไปกล้าลอง


ผล งานชื่อโบ๊ะ ภาพที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมญีปุ่น ที่แสดงให้เห็นว่าหญิงสาวกำลังเลียนแบบการแต่งหน้าแต่งกายให้เหมือนกับสาว สมัยเอโดะ


ภาพสาวน้อยชาวญี่ปุ่นในภาพ “แม่บ้าน” ซึ่งแสดงให้เห็นตัวศิลปินในชุดผ้ากันเปื้อนสีขาว มีลูกไม้คาดผมประดับ ดวงตาใสแจ๋วน่ารักแบบการ์ตูนญี่ปุ่นที่เราคุ้นชิน กิริยาอาการคล้ายการแต่งกายเลียนแบบตัวการ์ตูนที่เด็กสาวจำนวนมากชื่นชอบ บ่งชี้ความหมายทั้งในแง่มุมของค่านิยมเชิงภาพลักษณ์ในวัยรุ่นหนุ่มสาว และอิสรภาพของการแสดงออกในบทบาทที่ตนเองปรารถนา ส่วนอีกภาพหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมและสังคมญี่ปุ่นด้วยก็คือ ภาพ “โบ๊ะ” ที่มีหญิงสาวในชุดกิโมโนกำลังประแป้งแต่งองค์อยู่หน้ากระจกเงา ทรงผมแบบญี่ปุ่นที่ประดับประดาด้วยหวีและปิ่นปักผม ดวงตากรีดเฉียง แก้มขาวลออ ริมฝีปากแดงสด แสดงให้เห็นแนวคิดของความพยายามที่จะสวมบทบาทสาวน้อยสไตล์เอโดะอย่างตั้งอก ตั้งใจ


ผลงานชื่อ Maid (ซ้าย) และ ไปโรงเรียน (ซ้าย) เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ

บทบาทของผู้หญิงที่อัญชลีแสดงให้เห็นในผลงาน ถือเป็นอีกหนึ่งแง่มุมเชิงบวกที่ศิลปินหญิงคนหนึ่งมีต่อตนเองและภาวะแห่งเพศ สภาพสตรี ความมีเสรีต่อการแสดงออก การแต่งกาย สร้างสรรค์บุคลิกภาพส่วนตนโดยปราศจากกรอบกฎพันธนาการ และสื่อเสนอความเป็นจริงของความคิดกับความรู้สึกภายในให้ปรากฏขึ้นมาเป็นผล งานศิลปะอันเต็มไปด้วยอัตลักษณ์ในเส้นสีฝีแปรง การตัดทอนบิดเอียงรูปร่างรูปทรง ขับเน้นเรื่องราวเนื้อหาด้วยสีสันสดสว่างท่ามกลางฉากหลังสลัวรางในภาพ ล้วนให้ทิศทางความหมายทั้งในเชิงเสียดสีแบบมีอารมณ์ขัน การยั่วล้อหยอกเอิน และการแสดงตัวตนอย่างเสรีของศิลปินหญิงสาวอีกหนึ่งคน

นิทรรศการศิลปะ สุภาพสตรี บู๊ระห่ำ (Lady Image) จัดแสดงที่หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ถ. บรมราชชนนี ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2555 – 4 มีนาคม 2555 , วันอังคาร – เสาร์ เปิดตั้งแต่เวลา 10.30 – 19.00 น. วันอาทิตย์ 10.30-17.30 น. ค่าเข้าชมฟรี, โทร 02-422-2092, www.ardelgallery.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น